วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การศึกษาหมายถึง



ความหมายของการศึกษา

ยัง ยัคส์  รุสโซ  (Jean Jacques  Rousseau)  ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษา
คือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป   หรืออาจกล่าวได้ว่า    การศึกษา คือ
การนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
                        โจฮัน เฟรดเดอริค  แฮร์บาร์ต   (John   Friedich   Herbart)     ให้ความหมายของการศึกษาว่า
การศึกษาคือ  การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี  และมีอุปนิสัยที่ดีงาม
                        เฟรด  ดเอริค  เฟรอเบล  (Friedrich  Froebel)  การศึกษา  หมายถึง  การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง
                        จอห์น  ดิวอี้  (John  Dewey)   ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย  คือ
        1.   การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
                        2.   การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
                        3.   การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
                        4.   การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
                        คาร์เตอร์ วีกู๊ด  (Carter  V. Good)  ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้  3  ความหมาย  คือ
                        1.  การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
                        2.  การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคม  ที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้  ความสามารถจาก
สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
        3.  การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา
                        ..ปิ่น มาลากุล   การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล
ดรสาโช  บัวศรี  การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
                    สรุป การศึกษา  เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย  อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
การเรียนรู้  (Learning)    
                        1.   หมายถึง   กระบวนการที่ประสบการณ์ตรงและประสบการณ์ทางอ้อมกระทำให้อินทรีย์ เกิดการเลี่ยนแปลง  
                        2.   หมายถึง  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ (Experience)
ประสบการณ์   (Experience)    คือ  การที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสปะทะ (Interaction)  กับสิ่งแวดล้อม(Environment)  ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  สิ่งแวดล้อมทางสังคม (มนุษย์ด้วยกัน)  และสิ่งแวดล้อมทางขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่บุคคลปะทะแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
                   ปกติสภาพแวดล้อมมีทั้งดีและไม่ดี  สิ่งแวดล้อมที่ดีจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี ในทางตรงข้ามถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางไม่ดี ทั้งนี้เมื่อพันธุกรรมเป็นตัวคงที่  ดังนั้นถ้าต้องการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางดี  (การศึกษาเจริญงอกงามจึงไม่อาจปล่อยให้บุคคลไปปะทะกับสิ่งแวดล้อมโดยอิสระ จำเป็นต้องจัดสถานการณ์เฉพาะให้บุคคลปะทะถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีและนี่คือที่มาของการจัดการศึกษา   ในการจัดการศึกษาจุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อให้มีการสอนที่ถูกต้องชัดเจน
ความหมายของการสอน
                        -   การสอน  หมายถึง  การถ่ายทอดความรู้
                        -   การสอน  หมายถึง  การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                        -   การสอน  หมายถึง  การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ
                        -   การสอน  หมายถึง  การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้
                        -   การสอน  หมายถึง  การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                        -   การสอน  หมายถึง  กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้ไปใช้ ให้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
                        -   การสอน  หมายถึง  การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะ   เพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้  หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น    การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม
 ระบบการเรียนการสอน
                   ระบบการเรียนการสอน  มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน  กระบวนการ  และ  ผลผลิต
                        1. ตัวป้อน ได้แก่  ครู หรือผู้สอน  ผู้เรียน  หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
                        2. กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
                        3. ผลผลิต  ได้แก่  ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย  จิตพิสัย และทักษะพิสัย
จุดประสงค์การเรียนการสอน
                       ความหมายของจุดประสงค์การเรียนการสอน
                        จุดประสงค์การเรียนการสอน   คือ  ข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้  และความสามารถที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนหลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในบทหนึ่ง ๆ แล้ว  
                        ความสำคัญของจุดประสงค์การเรียนการสอน
จุดประสงค์การเรียนการสอน   เป็นจุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้แนวทางมาจากความคิดรวบยอดการเรียนการสอน เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลการสอนจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อมแสดงว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้  แบ่งได้เป็น 2 ระดับ  คือ
                        1.  จุดประสงค์ทั่วไป  เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายกว้างไม่เฉพาะเจาะจง และเป็น
จุดประสงค์ที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง   เช่น   เพื่อให้มีนิสัยใฝ่หาความรู้    เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมไทย
                        2.  จุดประสงค์เฉพาะ  เป็นจุดประสงค์ที่มีความเฉพาะเจาะจง และเป็นจุดที่ตั้งขึ้น  เพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง  เช่น นักเรียนสามารถเขียนแผนภูมิแท่งได้ นักเรียนสามารถวาดภาพได้  จุดประสงค์เฉพาะจะชี้ให้เห็นสิ่งที่ต้องการจากการศึกษาอย่างเจาะจง  และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง       นอกจากนี้ จุดประสงค์ยังอาจแบ่งได้ตามลักษณะการเรียนรู้ได้เป็น 3  ด้าน 
การจำแนกประเภทของจุดประสงค์ทางการศึกษาของ  บลูม และคณะ
                   บลูม   ( Benjamin  S. Bloom )  และ คณะ    ได้จำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษา (Taxonomy  of  Education Objects)  ออกเป็น  3   ด้าน  ดังนี้
                        1.  ด้านพุทธิพิสัย  (Cognitive  Domain)    หรือด้านสติปัญญา    หรือด้านความรู้  และการคิดประกอบด้วยความรู้ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆการนำเอาสิ่งที่เป็นความรู้ความจำไปทำความเข้าใจ นำไปใช้การใช้ความคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินค่า
                        2.  ด้านจิตพิสัย  (Effective  Domain)  หรือด้านอารมณ์ – จิตใจ  ความสนใจ  เจตคติ  ค่านิยม และคุณธรรม  เช่น   การเห็นคุณค่า  การรับรู้  การตอบสนอง  และการสร้างคุณค่าในเรื่องที่ตนรับรู้ นั้นแล้วนำเอาสิ่งที่มีคุณค่านั้นมาจัดระบบและสร้างเป็นลักษณะนิสัย
                        3.  ด้านทักษะพิสัย   (Psychomotor  Domain)   หรือด้านทักษะทางกาย   หรือด้านการปฏิบัติประกอบด้วย ทักษะการเคลื่อนไหว  และการใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย  เช่น การเลียนแบบ การทำตามคำบอก  การทำอย่างถูกต้องเหมาะสม  การทำได้ถูกต้องหลายรูปแบบ  การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
                   จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  คือ  จุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่บอกให้ทราบว่า หลังจากจบบทเรียนนั้น ๆ แล้ว  ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมที่วัดได้  สังเกตได้ ออกมาอย่างไรบ้าง
หลักทั่วไปในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                        1.   เขียนสั้น ๆ ให้ได้ใจความ ควรมีความยาวหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น
                        2.   ระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดเพียงหนึ่งพฤติกรรม
                        3.   ระบุพฤติกรรมปลายทางที่คาดว่าจะเกิด
                        4.   เป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นเป็นรูปธรรม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นนามธรรม
ลักษณะการสอนที่ดี  
                    การสอนที่ดีควรมีลักษณะ  ดังนี้
                        1.  มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทำ  การได้ลงมือทำจริง   ให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
                        2.  มีการส่งเสริมนักเรียน ให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม  นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  การทำงานร่วมกับผู้อื่น
                        3.   มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข  ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
                        4.   มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
                        5.   มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ  เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
                        6.   มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ  ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
                        7.   มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอด้วยการซักถามหรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ  เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ  และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
                        8.   มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม  และความคิดสร้างสรรค์  ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดี มีประโยชน์ ไม่เลียนแบบใคร  ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
                        9.   มีการใช้การจูงใจในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
                        10.  มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย   เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น  ยกย่องความคิดเห็นที่ดี   นักเรียนมีส่วนร่วม ในการวางแผนร่วมกับครู
                        11.  มีการเร้าความสนใจ ก่อนลงมือทำการสอนเสมอ 
                        12.  มีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ  เช่น  การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด
วิธีสอนแบบต่าง ๆ
                   ไม่สามารถกล่าวได้ว่าวิธีใดเป็นวิธีสอนที่ดีที่สุดเพราะการเรียนการสอนต้องขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการ  ดังนั้น  จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีสอน ตามความเหมาะสมของสภาพที่เป็นอยู่ ควรนำเทคนิคต่างๆมากระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่กำหนดให้ 
การเลือกวิธีสอน 
                        -    สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน  เป็นวิธีที่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
                        -    สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะสอนนั้น
        -    เหมาะสมกับเวลา  สถานที่  และจำนวนผู้เรียน
ประเภทของวิธีสอน
                     1.  วิธีสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher – Centered Method) ได้การสอนที่ครูเป็นผู้สอน
ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่   เช่น   ครูจะเป็นผู้ตั้งจุดมุ่งหมาย  ควบคุมเนื้อหา จัดกิจกรรม และวัดผล เป็นต้น  วิธีสอนแบบนี้มีหลายวิธี ได้แก่  วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนแบบสาธิต วิธีสอนโดยการทบทวน
                     2.  วิธีสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child - centered  Method) ได้แก่ วิธีสอนที่ให้นักเรียน
ได้มีโอกาสเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้วางแผนบทเรียน ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้  ครูเป็นเพียงผู้แนะแนวไปสู่การค้นคว้า แนะนำสื่อการเรียนการสอน จนนักเรียนได้ความรู้ด้วยตนเอง  ได้แก่  วิธีสอนแบบบูรณาการ  วิธีสอนแบบทดลอง  วิธีสอนแบบโครงการ วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน  วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน  วิธีสอนแบบอภิปราย  วิธีสอนแบบหน่วย  วิธีสอนแบบอุปนัย   วิธีสอนแบบนิรนัย   วิธีสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติ    วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์   วิธีสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม  วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่   (ดรสาโรช บัวศรี)
วิธีสอนแบบขั้นทั้ง  4   ของอริยสัจสี่
                        1.   ขั้นกำหนดปัญหา……… (ขั้นทุกข์)
-    ศึกษาปัญหา
                             -    กำหนดขอบเขตของปัญหาที่จะแก้
2.   ขั้นตั้งสมมุติฐาน……….. (สมุทัย)
-    พิจารณาสาเหตุของปัญหา
-    จะต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุ
-    พยายามทำอะไรหลาย ๆ อย่าง  เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงสาเหตุ
3.   ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล….(นิโรธ)
-    ทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ
-    ทดลองได้ผลประการใด บันทึกข้อมูลไว้
4.   ขั้นสรุปข้อมูลและสรุปผล……. (มรรค)
-    วิเคราะห์เปรียบเทียบ
-    สรุปผลและแนวทางเพื่อปฏิบัติ
                        4.   ครูต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ถูกต้องกับวิชานั้น ๆ
                        5.    ต้องสาธิตเกี่ยวกับบทเรียน
วิธีสอนแบบทดลอง
                   วิธีสอนแบบทดลอง  หมายถึง   กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติ  ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และทำการทดลองด้วยตนเอง  เพื่อทำการพิสูจน์หลักการ ทฤษฎี  หรือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐานในการทดลอง ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด   โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผลการทดลองและสรุปผลการเรียนรู้  ที่ได้จากการทดลอง ภายใต้การแนะนำ ดูแล ให้คำปรึกษาและช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดจากผู้สอน
                    วัตถุประสงค์ เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนรายบุคคล/รายกลุ่มเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยการสังเกตและทดลองด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน ทำให้จดจำได้นานเพื่อพัฒนาผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการทดลอง
ขั้นตอนความสำคัญของการสอน
                        การจัดการเรียนรู้แบบทดลองมีขั้นตอนสำคัญ ดังต่อไปนี้
                        1.  ขั้นเตรียม
1.1   กำหนดจุดประสงค์  ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร คู่มือครู  หรือแผนการสอน  แล้วตั้งจุดประสงค์การสอนให้ชัดเจนว่า ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมแต่ละด้านอย่างไรบ้าง
                                1.2   วางแผนจัดการเรียนรู้
                                1.3   จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ
1.4   ตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของเครื่องมือ 
1.5
   เตรียมผู้เรียน
                        2.  ขั้นทดลอง
                                2.1  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นเร้าความสนใจ ผู้สอนควรได้แจ้งจุดประสงค์การทดลอง ขั้นตอนวิธีการทดลอง แนะนำการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์  ให้ผู้เรียนได้ทราบบทบาทของตน
                                2.2  ขั้นทดลอง ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการทดลองโดยผู้สอนเป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำช่วยเหลือให้การทดลองเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
                        3.  ขั้นเสนอผลการทดลอง
                        ผู้เรียนนำเสนอผลการทดลอง   และรายละเอียดประกอบโครงการทดลอง    การเตรียมการ วิธีการทดลองและผลที่ได้จากการทดลอง
                        4.  ขั้นสรุปผลการทดลองและอภิปรายผล
                        ในขั้นนี้จะสรุปผลและอภิปรายผลของแต่ละกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตนเองได้รับ ระหว่างกลุ่มด้วย
                        5.  ขั้นประเมินผล                                                                                                    
                        ขั้นนี้ผู้สอนและผู้เรียนควรร่วมกันประเมินผลผู้เรียนในด้านต่าง ๆ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในการทดลองที่จะมีขึ้นในครั้งต่อไป
วิธีสอนแบบอภิปราย
                   ความหมาย   คือ  วิธีการสอนที่ผู้สอนให้ผู้เรียนมาประชุมกันเป็นกลุ่ม  หรือร่วมแสดงความคิดเห็น หรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งตามที่ผู้สอนกำหนด
                    ประเภทของการอภิปราย
                   1.  การอภิปรายในชั้นเรียน  เป็นการอภิปรายกลุ่ม ( Group Discussion )  อาจจัดเป็น 
                          1.1    อภิปรายทั้งชั้น  ( Whole Class Discussion )
                          การอภิปรายทั้งชั้น ( Whole Class Discussion )   เป็นการสอนที่ผู้สอน เป็นผู้นำอภิปราย โดยเริ่มจากการใช้คำถามเร้าความสนใจให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   และผู้สอนในฐานะผู้นำอภิปรายจะช่วยเชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ จนได้ข้อสรุปในที่สุด
                          1.2    อภิปรายกลุ่มย่อย ( Small Group Discussion )
                          การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)  เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยการจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  ประมาณ  4 - 8 คน ให้ผู้เรียนในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น  ประสบการณ์ในประเด็นที่กำหนด    และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม 
                   วัตถุประสงค์
                   เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้    มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนกว้างขึ้น
                   ขั้นตอนสำคัญของการสอน
                          1.   ผู้สอนจัดผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละประมาณ  4-8 คน
                          2.   ผู้สอน / ผู้เรียน กำหนดประเด็นในการอภิปราย
                          3.   ผู้เรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตามประเด็นอภิปราย
                          4.   ผู้เรียนสรุปสาระที่สมาชิกกลุ่มได้อภิปรายร่วมกัน เป็นข้อสรุปของกลุ่ม
                          5.   ผู้สอนและผู้เรียน นำข้อสรุปของกลุ่มย่อยมาใช้ในการสรุปบทเรียน
วิธีสอนแบบสาธิต
                    ความหมาย  คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการแสดงหรือทำสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ สังเกตแล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปรายและ สรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกต การสาธิต
                    วัตถุประสงค์  เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตาตนเอง  ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องหรือการปฏิบัตินั้นชัดเจนขึ้น
                    ขั้นตอนสำคัญของการสอน
                          1.   ผู้สอนแสดงการสาธิต ผู้เรียนสังเกตการสาธิต
                          2.   ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต
                     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ฉบับ พ.ศ. 2542  ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ฉบับกฤษฎีกา  เล่มที่ 116  ตอนที่ 74 ก  วันที่ 19 สิงหาคม 2542   นั่นก็หมายความว่า  พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้  ตั้งแต่วันที่  20  สิงหาคม  2542   เป็นต้นไป   ซึ่งจะเป็นปรากฏการณ์ แห่งการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติ  โดยหลักการแล้วได้ให้ความสำคัญกับผู้เรียน หรือการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังในหมวด 4   แนวการจัดการศึกษา   ได้กล่าวในมาตรา 24 ว่า  การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
                   1.  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
                   2.  ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้    มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
                   3.  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น        ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
                   4.  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา 
                   5.  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย         เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
                   6.  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชมทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ จากมาตรา 24 สามารถที่จะวิเคราะห์ความคาดหวังและเป้าหมายที่ต้องการให้นักเรียนปรับเปลี่ยนไป ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
                          6.1.   การเรียนการสอนต้องสนองตอบต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล                
                          6.2.   เน้นกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้
                          6.3.   เรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีความใฝ่รู้
                          6.4.   การเรียนรู้แบบบูรณาการ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม  
                          6.5.  จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน  ผู้เรียนและผู้สอน เรียนรู้ร่วมกันจากสื่อการเรียนการสอน
                          6.6.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
                   จากหลักการทั้ง 6 ประการที่วิเคราะห์จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2542 ได้นำมาศึกษาทั้ง 6 ประเด็นที่ถือเป็นเป้าหมาย ดังนั้นการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และหลักการที่จะนำมาใช้ คือ หลัก Project Approach
                        Project  Approach    เป็นรูปแบบการเรียนการสอน ที่เน้นการปฏิบัติจริง  ถือหลักการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Learning by doing)   คำว่า Project   เป็นงานที่ผู้เรียนต้องทำ    ต้องปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องทำเพื่อบรรลุจุดประสงค์ เป็นผลงานออกมาในรูปแบบต่างๆ ตามที่กำหนดและข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผลงานที่ปรากฏออกมาอาจเป็น
                        1.  ทำหรือสร้างสิ่งสำเร็จรูป  เช่น  โต๊ะ เก้าอี้  คอกเลี้ยงสัตว์  สนามกีฬา
                        2.  กิจกรรมเพื่อนันทนาการ เช่น  จัดแสดงละคร ดนตรี การเดินทางไปทัศนศึกษา
                        3.  โครงการเพื่อแก้ปัญหา เช่น  วางโครงการและดำเนินงานแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสะอาด ความปลอดภัยในการเดินทาง การดูแลรักษาต้นไม้
                        4.  โครงการเกี่ยวกับการฝึกทักษะ เช่น โครงการฝึกทักษะทางการพูดการเขียน การโฆษณา เป็นต้น
                   กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ นักเรียนจะต้องเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง  เริ่มตั้งแต่วางแผนการทำงานการศึกษาหาข้อมูล ความรู้ เพื่อประกอบการทำงานที่ต้องการ  จนกระทั่งทำงานสำเร็จเรียบร้อย   เป็นผลออกมาตามแผนและจุดประสงค์ที่กำหนด  จึงถือว่าสำเร็จตามโครงการหรือ Project
ทฤษฎีและแนวทางการวัดผลประเมินผล
                        มาตรา 26 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดการประเมินผลการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  สังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่กันไปในกระบวนการเรียนการสอน  ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ  และรูปแบบการศึกษา  ขณะที่ มาลินี จุฑะรพ (2539) ได้กล่าวว่า "ผลของการเรียนรู้ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมใน 3 ด้าน  คือ  ด้านความรู้  ด้านทักษะ และด้านความรู้สึก   ดังนั้น ในการวัดผลการเรียนรู้    จึงควรวัดผลการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน โดยใช้เครื่องมือในการวัดผล แตกต่างกันไป ตามระดับการศึกษา และรูปแบบการศึกษาที่จัด เช่น ในห้องสมุดประชาชนที่สนับสนุนการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย   ควรจะต้องมีเครื่องมือในการวัดผลการเรียนรู้แต่ละรูปแบบ   การศึกษาที่แตกต่างกันไป ในการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย ย่อมต้องมีการวัดผลประเมินผล  ซึ่งเครื่องมือในการวัดผลมี 2 ประเภท คือ
                        1.  ประเภทแบบสอบต่าง ๆ  เช่น  แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้วัดพฤติกรรมด้านความรู้  ความคิด   ซึ่งมีทั้งแบบสอบอัตนัย    แบบเขียนตอบ    แบบปรนัย    แบบเลือกตอบ   แบบถูก-ผิด    แบบจับคู่  แบบหลายตัวเลือก  เป็นต้น
                        2.  ประเภทไม่ใช่แบบสอบ     เป็นเครื่องมือในการวัดผลการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน    เช่น     การซักถาม  การสังเกตพฤติกรรม  การรับฟังความคิดเห็น  ซึ่งการวัดผลโดยไม่ใช้แบบสอบ จะใช้เทคนิคการสังเกตเป็นหลัก  หรือใช้แบบตรวจสอบรายการ  แบบมาตราประเมินค่า  แบบบันทึกพฤติกรรม 
                        การวัดผล  เป็นกิจกรรมประจำวันของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย   เช่น  การวัดน้ำหนัก ส่วนสูง  การวัดว่าได้เวลาของการซื้อเสื้อผ้าใหม่  ซื้อข้าวของเครื่องใช้ใหม่  เป็นต้น    การวัดผล เป็นกระบวนการกำหนดตัวเลขให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจจะเป็นวัตถุ สิ่งของ หรือบุคคลก็ได้ (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ2539)
                        การวัดผลมีวิธีการวัด 2 อย่าง  คือ
                        1.  การวัดผลทางตรง หมายถึง ความสามารถในการวัดสิ่งนั้นๆ ได้โดยตรง สิ่งที่ต้องการวัดมีรูปธรรม เช่น วัดความยาว วัดน้ำหนักของหมู การวัดแบบนี้เป็นการวัดด้านกายภาพ สามารถใช้เครื่องมือวัดที่เป็นมาตรฐานสากล มีความแม่นยำเที่ยงตรง
                        2.  การวัดผลทางอ้อม หมายถึง การวัดคุณลักษณะหนึ่งโดยอาศัยการวัดจากอีก สิ่งหนึ่ง เช่น วัดผลการเรียน วัดเชาวน์ปัญญา วัดเจตคติ วัดความกังวลใจ ฯลฯ  คุณลักษณะเหล่านี้ใช้เครื่องมือทาบวัดโดยตรงไม่ได้  ต้องผ่านกระบวนการทางสมองเสมอ  ผลการวัดที่ได้ จึงเป็นผลจากการผ่านกระบวนการทางสมองชั้นหนึ่งก่อน ซึ่งอาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้ 
                       การประเมินผล   เป็นกระบวนการพิจารณาตัดสินที่เป็นระบบ    ที่ครอบคลุม ถึงจุดมุ่งหมาย     ที่ตั้งไว้  นั่นคือประเมินดูว่ากิจกรรมที่ทำทั้งหลายเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้เพียงใดในการประเมินผลอาจทำได้หลายลักษณะ  เช่น
                                2.1   ใช้ปริมาณจากการวัดมาพิจารณาตัดสินด้วยคุณธรรมแล้วสรุป 
                              2.2   ไม่ต้องใช้ตัวเลขจากการวัดแต่หาข้อมูลด้านอื่นมาประกอบการพิจารณาตัดสิน เช่น ประวัติ   ระเบียนสะสม  เป็นต้น   นั่นหมายถึงว่า   การประเมินใช้ข้อมูลของการวัดผล มาพิจารณาตัดสิน การวัดผลที่ดีจึงเป็นฐานของการประเมินผลที่ดี    และการประเมินผลที่ดี เป็นเรื่องของการใช้เหตุผลเป็นฐานในการพิจารณาด้วยว่า  อะไรเหมาะ  อะไรดี   อะไรควร   เป็นต้น  (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ2539)
                        การวัดผลการเรียนรู้ที่ดี   จะต้องวัดได้ครอบคลุมในสิ่งที่ต้องการวัด และมั่นใจว่าสามารถวัด    สิ่งนั้นได้แน่นอนด้วย การวัดผลที่ครอบคลุม  ควรวัดให้ครอบคลุมทั้ง 3  ด้านคือ
                        1.  ด้านสติปัญญา  ( พุทธิพิสัย )   เป็นการวัดความรู้  ความคิด  และการนำความรู้ไปประยุกต์ พฤติกรรมที่ใช้วัดด้านนี้ คือ
                            1.1  ความจำ หมายถึง ความสามารถของสมองในการที่จะเก็บสะสมความรู้หรือข้อเท็จจริงที่ได้ประสบพบเห็นมาให้คงอยู่ได้  การแสดงออกที่บ่งบอกว่าจำได้ เช่น บอกสูตรหรือเขียนสูตร ที่ครูเคยสอนมาแล้ว
                                1.2  ความเข้าใจ  หมายถึง   ความสามารถในการแปลความ   ตีความ  และ  ขยายความสถานการณ์นั้นได้ สมรรถภาพนี้สูงกว่า ความรู้ ความจำ  การแสดงออกที่บ่งบอกว่ามีความเข้าใจ ได้แก่
                                        1.2.1   อธิบายข้อความที่ยากให้เป็นภาษาง่าย ๆ 
                                    1.2.2   เปรียบเทียบลักษณะของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง
                                1.3  การนำไปใช้  หมายถึง  ความสามารถในการแก้ปัญหา โดยการนำประสบการณ์หนึ่งไปใช้ในอีกประสบการณ์หนึ่งได้   สมรรถภาพนี้สูงกว่าความเข้าใจ   คือต้องเข้าใจก่อนจึงจะแก้ปัญหาได้ การแสดงออกที่บ่งบอกว่านำไปใช้ได้   เช่น
                                        1.3.1  โจทย์ที่ไม่เคยทำมาก่อน
                                        1.3.2  ทดลองในสิ่งที่ใช้อย่างหนึ่งทดแทน  เช่น   ใช้น้ำมะนาวแทนน้ำกรด
                                1.4  การวิเคราะห์  หมายถึง  ความสามารถในการแยกแยะดูว่าสิ่งนั้น ประกอบด้วยอะไร การเกิดสิ่งนั้นขึ้นอาศัยเหตุผลใด  สามารถจำแนกได้ว่าสิ่งใดสำคัญมาก  สิ่งใดมีความสัมพันธ์กัน และเกิดปรากฏการณ์นั้น ๆ ขึ้น อาศัยหลักการใด  การแสดงออกที่แสดงถึงการวิเคราะห์  เช่น     
                                        1.4.1  เลือกรับประทานอาหาร 4 - 5 ชนิด  ที่มีรสชาติและราคาที่พอ ๆ กัน  แต่เลือก
รับประทานชนิดที่ดีที่สุด
                                  1.4.2   ทราบสาเหตุของไฟฟ้าช็อต
                          1.5  การสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการรวมส่วนย่อยต่างๆตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปเข้าด้วยกัน   แล้วเปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณภาพแปลกและแตกต่างออกไป   ส่วนย่อยดังกล่าว อาจจะเป็นเหตุการณ์ สถานการณ์ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นใด ๆ ก็ได้   การสังเคราะห์ ก็คือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั่นเอง  การแสดงออกที่แสดงถึง การสังเคราะห์  เช่น
                                       1.5.1    เขียนกลอนได้
                                  1.5.2    แต่งเรื่องใหม่เป็น
                                  1.5.3   วางแผนการแข่งขันฟุตบอลเพื่อหารายได้ได้
                            1.6  การประเมินค่า หมายถึง ความสามารถในการตีราคาของสิ่งนั้นว่า ดี- เลว   ชอบ-ไม่ชอบ ควร-ไม่ควร เหมาะสม-ไม่เหมาะสมอย่างไร โดยอาศัยเหตุผลประกอบด้วย ซึ่งหากไม่มีเกณฑ์ไม่ใช่การประเมิน เป็นความคิดเห็นลอย ๆ การแสดงออกที่แสดงถึงการประเมินค่า เช่น 4
                                  1.6.1  พิจารณาตัดสินว่าที่เพื่อนเล่าเรื่องราวให้ฟังนั้น ควรเชื่อหรือไม่ 
                                  1.6.2  พิจารณาตัดสินใจเลือกอ่านหนังสือที่เหมาะสมกับวัย
                        2.  ด้านความรู้สึก (เจตพิสัย)  เป็นการวัดเกี่ยวกับความรู้สึก  อารมณ์และทัศนคติ  เป็นการวัดสภาพการเปลี่ยนแปลงของจิตใจ  เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบแล้วเกิดการรับรู้  เกิดความสนใจ  อยากจะเกี่ยวข้องด้วย จนรู้คุณค่าทั้งทางดีและไม่ดี    การวัดด้านนี้  จะเริ่มจากการรับ  การสนองตอบ   การรู้คุณค่า การจัดระบบคุณค่าและการสร้างลักษณะนิสัย   
                        ทัศนคติ หมายถึง ความเชื่อศรัทธาหรือเลื่อมใสในสิ่งหนึ่งสิ่งใด  จนเกิดความพร้อมในจิตใจ  สามารถประพฤติปฏิบัติตามได้   การแสดงออก   การทำงานมากกว่าที่กำหนด
                        3.  ด้านทักษะกลไก (ทักษะพิสัย)  เป็นการวัดเกี่ยวกับทักษะในการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การประสานงานของการใช้อวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนการใช้ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น  การเขียน การอ่าน การพูด การวิ่ง การกระโดด การว่ายน้ำ การใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้เครื่อง คิดเลข เป็นต้น
                        ทักษะ  หมายถึง  ความสามารถในการที่จะทำงาน  ได้แคล่วคล่อง ว่องไว   โดยไม่มีผิด  หรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงในสิ่งนั้น  การแสดงออก - บวก ลบ คูณ หารได้รวดเร็ว   ถูกต้อง - พิมพ์รายงานได้รวดเร็วถูกต้อง
                        ดังที่กล่าวแล้วว่า    การศึกษาค้นคว้าในห้องสมุดนั้น    เป็นการศึกษาค้นคว้าที่เปิดกว้างตามความสนใจ     ความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด  และการที่จะวัดการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายนั้นอาจทำได้ยาก  สิ่งที่บรรณารักษ์จะสามารถกระทำได้คือ  กระตุ้นให้มีการบันทึกการเรียนรู้ของผู้ใช้  เพื่อนำไปสู่การวัดผลการเรียนรู้  ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานอื่น ที่ทำหน้าที่ในการวัดผลการเรียนรู้ ในกรณีนี้จะใช้กับผู้เรียนที่มีความต้องการจะนำผลการศึกษาด้วยตัวเองไปใช้ ประโยชน์ในการเทียบโอน ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542   ที่ได้เปิดทางในเรื่องการเทียบโอนไว้ให้     แต่หากผู้ใช้บริการไม่มีความต้องการที่จะนำความรู้ไปเทียบโอน เขาก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบันทึกการเรียนรู้ เพราะเขาอาจจะต้องการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือใช้ชีวิตประจำวันในด้านอื่น ๆ ก็เป็นได้
                        กระบวนการวัดผลประเมินผล  เป็นกระบวนการที่เกิดภายหลังจากกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สร้างความรู้แล้ว หรืออาจประเมินในระหว่างการเรียนการสอนที่ผู้เรียนกำลังสร้างความรู้ให้กับตนเองก็ได้   ดังนั้นการวัดผลประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่  จึงมีจุดเน้นในการประเมิน  ตามลักษณะดังนี้
                   1.  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ และเกณฑ์การตัดสิน
                        2.  ผู้เรียนมีการแสดงจัดทำผลงาน ซึ่งเป็นหลักฐานสำหรับการประเมิน
                        3.  ผู้เรียนใช้ทักษะขั้นสูง ในการเรียน การปฏิบัติงาน
                        4.  ผู้เรียนถูกประเมินด้านทักษะการเรียนแบบร่วมมือ
                        5.  การให้คะแนนอิงผลงานที่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า และมีเกณฑ์การตัดสินที่แน่นอน
 องค์ประกอบและจุดเน้นของวิธีการวัดผลประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่
                   วิธีการวัดผลประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่    มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ การวัดและประเมินผลที่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลที่ใช้วิธีการปฏิบัติ (Performance Assessment) และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) (กรมวิชาการ2546)
                        การวัดผลประเมินผลด้วยวิธีปฏิบัติ    คือ   การวัดและประเมินความรู้   ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้เรียนภายใต้สภาพการณ์และเงื่อนไขที่สอดคล้องกับสภาพจริง โดยพิจารณาจากกระบวนการทำงานและคุณภาพของงาน โดยใช้เกณฑ์ประเมินที่สร้างขึ้นจากมิติความสำคัญ (Rubric) ของคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ของผลงานนั้น
                        การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง คือ  กระบวนการตัดสินความรู้ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียน  ในสภาพที่สอดคล้องกับชีวิตจริง   เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนตอบสนอง   โดยการแสดงออก
                        การจัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พุทธศักราช 2542    มาตรา 26 กำหนดให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน     โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน       ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน   การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
จิตวิทยาด้านการเรียนการสอน
                        มาสโลว (Maslow) อธิบายลําดับขั้นความจําเปนของมนุษย วา ถาคนมีความจําเปนในการทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะทําใหเกิดแรงจูงใจในการทําสิ่งตาง ๆ ได   แรงจูงใจในการเรียนรูภาษาตางประเทศควรเกิดจากความตองการพื้นฐานและความสนใจของนักเรียนเอง  ริเวอร (River: 1983) กลาววา นักเรียนตองการความรูสึกมั่นคง ความรูสึกปลอดภัย  และการมีอิสระ  จึงสรางชุดการสอนที่จะสนับสนุนใหนักเรียนไดอยูในบรรยากาศการเรียนตามวิธีการ  ของทฤษฎีการเรียนรูภาษาแบบธรรมชาติ   (Krashen & Terrell, 1983, pp. 58-59)  ดังรายละเอียด ตอไปนี้

                        1. แผนการสอนที่เตรียมตองใหมีการเรียนแบบการรับรูทางภาษา
                        2. ครูตองพยายามใชภาษาอังกฤษกับนักเรียนใหมากที่สุด โดยจะแกไขขอบกพรองทางภาษาทางด้านการสื่อสารเทาที่จําเปนเทานั้น
                        3. การแกไขคําผิด หรือไวยากรณตางๆจะแกไขโดยการใหทําแบบฝกหัดเขียน
                        4. จุดประสงคของการเขียนแผนการสอนของชุดการสอนนี้นี้คือใหนักเรียนทํากิจกรรม        ที่มีความหมายตอการเรียนรู
                       โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange'') ได้นำเอาแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง    โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
        1.   เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) 
      2.   บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) 
      3.   ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) 
      4.   นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) 
      5.   ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) 
      6.   กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) 
      7.   ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) 
      8.   ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) 
      9.  สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)




            รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.km.skn.go.th/?name=research&file=readresearch&id=17

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

By :
Free Blog Templates